เตรียมสอบท้องถิ่น วิชาที่จะใช้ในการสอบ ภาค ก. และ ภาค ข. ท้องถิ่น มีวิชาอะไรบ้าง

เตรียมสอบท้องถิ่น วิชาที่จะใช้ในการสอบ

เตรียมสอบท้องถิ่น วิชาที่จะใช้ในการสอบ ภาค ก. และ ภาค ข. ท้องถิ่น มีวิชาอะไรบ้าง

โดยในการสอบจะเป็นการสอบภาค ก. และภาค ข. ในวันเดียวกัน (ภาค ก. สอบตอนเช้า ภาค ข. สอบตอนบ่าย) และหากสอบผ่าน 60 % ทั้งสองภาค ถึงจะมีสิทธิสอบในภาค ค (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง) ต่อไป

หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น มีทั้งหมด 3 ภาค โดยจะสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) และภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข.) ก่อน แล้วจึงให้ผู้สอบผ่านทั้ง 2 ภาค มีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) โดยหลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขันมีรายละเอียด ดังนี้

ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) เป็นการทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย โดยคำนึงถึงระดับความรู้ความสามารถที่ต้องการตามระดับตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
1. วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) เป็นการทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล ในเรื่องดังต่อไปนี้
– ความสามารถในการสรุปความ หรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว
– ความสามารถในการวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคม เช่น หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง โมเดลเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0 หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เป็นต้น
– ความสามารถในการหาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือสมมติฐาน
– ความสามารถในการวิเคราะห์และสรุปเหตุผลอย่างอื่น เช่น สรุปเหตุผลเกี่ยวกับตัวเลข และข้อมูลต่าง ๆ การคิดสรุปหาเหตุผล และอุปมาอุปไมย เป็นต้น

2. วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) เป็นการทดสอบความพื้นฐานที่เกี่ยวกับกฎหมายในการปฏิบัติราชการ ในเรื่องดังต่อไปนี้
2.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
2.2 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
2.3 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
2.4 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
2.5 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
2.6 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542
2.7 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
2.8 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
2.9 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546
2.10 พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
2.11 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526

3. วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในการใช้ภาษา โดยการอ่านจับใจความ การสรุปความการตีความ การขยายความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความ และให้พิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่างๆจากคำหรือกลุ่มคำ ประโยคหรือข้อความสั้นๆ การเรียงข้อความ การสะกดคำ การแต่งประโยค และคำศัพท์

4. วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน ทางการอ่าน การสรุปความ การตีความ และความเข้าใจสาระสำคัญของข้อความในระดับเบื้องต้น

ภาคความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ประกอบด้วย
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง(ที่สมัครสอบ) เช่นสมัครสอบช่างไฟฟ้า ก็จะสอบเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไฟฟ้า พรบ.ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.ควบคุมอาคารฯ เป็นต้น
2. กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ (คล้ายของภาค ก.) ประกอบด้วย
– พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม
– พรบ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ. 2540
– พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542

คลิกดูที่นี่ : หลักสูตรและวิธีการสอบแข่งขัน

แนวข้อสอบ ท้องถิ่น เพิ่มเติม (คลิกเลยที่นี่)

แนวข้อสอบ ท้องถิ่น เพิ่มเติม 2 (คลิกเลยที่นี่)


งานที่น่าสนใจ



งานราชการฟรี.com ช่วยคนไทยหางาน Copyright © 2021. All rights reserved.